สภาวะโลกร้อนนับเป็นปัญหาสำคัญที่โลกกำลังเผชิญอยู่ และได้รับการพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา ผู้เขียนพึ่งมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์กึ่งสารคดีเรื่อง An Inconvenient Truth ที่ออกมาเมื่อปีที่แล้ว โดยมีอดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ นาย อัล กอร์ (Al Gore) เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ในความคิดของผู้เขียนแล้ว สารคดีเรื่องนี้เป็นสารคดีที่มีประโยชน์และคุ้มค่าต่อการชมเป็นอย่างมาก และอยากแนะนำให้ผู้อ่านได้หามาชมกันครับ
นาย อัล กอร์ ผู้อ่านส่วนใหญ่คงจำกันได้ว่า เขาผู้นี้เป็นผู้อาภัพโชคในการชิงชัยตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐกับ George W. Bush แต่ถึงกระนั้น ด้วยสปริตที่สูงส่งของนักการเมืองสหรัฐผู้นี้ ทำให้เขายอมรับผลการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยข้อสงสัยต่างๆและไม่เป็นธรรมต่อคนสหรัฐสักเท่าไหร่นัก ภายหลังการเลือกตั้งผ่านพ้นไป นาย อัล กอร์ ได้หันกลับมาทำงานรณรงค์ในเรื่องปัญหาสภาวะโลกร้อน ให้โลกหันมาให้ความสนใจและหาแนวทางการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งภายในประเทศสหรัฐเองและประเทศอื่นๆทั่วโลก
ผู้เขียนได้ลองค้นหาคำว่า Global warming ในอินเทอร์เน็ด และพบว่ามีเว็ปไซด์ที่เกี่ยวข้องถึงกว่า 78.3 ล้านเว็ป แต่เมื่อลองดูว่ามีจำนวนเว็ปไซด์ที่เกิดขึ้นภายในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา หรือนับตั้งแต่สารคดีเรื่อง An Inconvenient Truth ได้ออกมาในปีที่แล้ว พบว่ามีมากถึง 44.5 ล้านเว็ปไซด์ หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 56 ของเว็ปไซด์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่อาจจะปฎิเสธได้ว่านาย อัล กอร์ และสารคดีดังกล่าว มีส่วนสำคัญที่ทำให้โลกตื่นขึ้นมาและหันมาสนใจปัญหาโลกร้อนกันมากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
สำหรับบทความวันนี้ ผู้เขียนขอเริ่มต้นจากการเกริ่นนำถึงที่มาของสภาวะโลกร้อนก่อน สภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นเมื่อคลื่นพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นผิวโลก ซึ่งโดยปกติแล้วคลื่นความร้อนส่วนใหญ่จะไม่ได้ถูกดูดซับไว้บนพื้นโลกไปนี้ แต่คลื่นความร้อนจะถูกสะท้อนกลับออกไปยังนอกบรรยากาศโลก ซึ่งถ้าหากคลื่นความร้อนถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกทั้งหมด ก็คงไม่ใช่สิ่งดี เพราะโลกคงมีสภาพไม่ต่างจากธารน้ำแข็งที่หนาวเย็นและยากต่อการดำรงชีวิตอยู่ได้
เพื่อให้โลกสามารถสะสมความร้อนที่ตกลงมาได้บางส่วน ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ได้ โลกจึงได้สร้างกลไกทางธรรมชาติไว้คือ กลุ่มแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gas) ซึ่งหนึ่งในแก๊สเรือนกระจกที่สำคัญคือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาพลาญเชิงเพลิงของมนุษย์ ทั้งนี้กลุ่มแก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gas) จะก่อให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) ที่ช่วยกั้นความร้อนที่สะท้อนจากพื้นผิวโลกไม่ให้สะท้อนกลับออกไปนอกบรรยากาศโลกทั้งหมด และช่วยสะสมพลังงานความร้อนไว้ หากเปรียบแล้วเรือนกระจกที่เกิดขึ้นเปรียบเสมือนกับผ้าห่มที่ห่อหุ้มและให้ความอบอุ่นแก่ผิวโลก ซึ่งหากกลุ่มแก๊สเรือนกระจกอยู่ในระดับที่เหมาะสม โลกก็จะมีสภาวะอากาศเหมาะสมแก่การดำรงอาศัยของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างเช่น หากปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่บนชั้นบรรยากาศโลกอยู่ในระดับ 380 ppm (parts per million) อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกจะอยู่ที่ 15 C แต่ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับที่สูงขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็จะปรับสูงขึ้นตาม
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลานี้คือ ในช่วงไม่กี่สิบที่ผ่านมา โลกภายใต้น้ำมือของมนุษย์ได้กำลังทำให้สมดุลทางธรรมชาติที่เคยดำรงไว้นับล้านปีสูญเสียไป โดยมนุษย์ได้ปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ออกไปสู่บรรยากาศโลกอย่างมาก จนทำให้กลุ่มแก๊สเรือนกระจกที่อยู่บนชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อโลกไม่สามารถระบายหรือสะท้อนคลื่นพลังงานความร้อนที่ได้จากดวงอาทิตย์ออกไปได้ เนื่องจากชั้นเรือนกระจกที่หนาขึ้น ความร้อนจึงถูกดูดซับไว้บนพื้นผิวโลก และส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตรงนี้เป็นสาเหตให้เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้นมาในปัจจุบัน
การที่อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น ไม่เพียงจะส่งผลทำให้โลกร้อนขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้สมดุลทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจ ที่เราสังเกตได้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์วิปฤติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย โดยหากเปรียบเทียบกับจำนวนภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้า 10 ปีที่ผ่านมา เราจะพบว่า โลกในปัจจุบันประสบกับภัยทางธรรมชาติต่างๆ ที่มีจำนวนครั้งที่เกิดและระดับความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์อย่าง Nicholas Stern ได้คาดการณ์ว่าหากแนวโน้มการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ยังดำเนินต่อไปในลักษณะเช่นนี้ คงไม่เกินปี ค.ศ. 2050 ปริมาณของ CO2 จะอยู่ที่ 560 ppm และจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 650 ppm ภายในไม่เกินปี ค.ศ. 2100 โดยอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 5 C และจะส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 เมตร (จากการละลายของพื้นที่ธารน้ำแข็ง) ทั้งนี้ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น 1 เมตร จะส่งผลอย่างรุนแรงต่อพื้นผิวที่อยู่อาศัยของโลก ซึ่งหลายพื้นที่ในโลกจะถูกน้ำท่วมและจมอยู่ใต้ทะเลในโอกาสถัดไปผู้เขียนจะขอเล่าถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึงนโยบายและเครื่องมือที่น่าสนใจทางเศรษฐศาสตร์ ที่น่าจะมีส่วนช่วยบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น อย่าลืมติดตามคอลัมน์ “ทันเศรษฐกิจ” ในฉบับทุกวันพฤหัสครับ
* "สภาวะโลกร้อน (Global warming)" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 27 ก.ย. 2550
Thursday, September 27, 2007
Thursday, September 13, 2007
เปรียบเทียบการลงทุนใน ไทย จีน และเวียดนาม*
เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมได้เขียนบทความเรื่อง “อย่าคิดแค่ว่าเวียดนามคือคู่แข่งของไทย” โดยชี้ให้เห็นถึงโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมไทยที่จะใช้ประโยชน์จากเวียดนามที่มีต้นทุนแรงงานและทรัพยากรบางอย่างที่ถูกกว่า บทความที่ผมได้นำเสนอไป มีความสอดคล้องกับทรรศนะของ นายกิติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชฑูตไทย ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม (ในรายงาน “เปิดช่องลงทุนตลาด ‘เวียดนาม’ โอกาสทองที่ไม่ควรมองข้าม” หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 30 ส.ค.- 1 ก.ย. 2550) ที่มองว่า ผู้ประกอบการไทยควรมองออกไปในต่างประเทศ ว่าจะใช้ประโยชน์จากตลาดต่างประเทศ อย่างเช่น เวียดนามได้อย่างไร
ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่เวียดนามได้มีการลงและเลิกภาษีศุลกากรภายใต้กรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) จะเป็นโอกาสที่ดี ที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยสามารถเข้าไปในตลาดเวียดนาม รวมถึงโอกาสในการใช้เส้นทาง East-West Corridor ที่เชื่อมระหว่างไทย ลาว จีน และเวียดนาม เพื่อเข้าสู่ตลาดใหญ่ที่สำคัญอย่างจีนอีกด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมไทยในภูมิภาคนี้ ซึ่งการวางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมไทยต่อไปข้างหน้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางอย่างถูกต้อง มิใช่มัวแต่เดินกลับหลังไปสู้เรื่องค่าแรงงานถูก ดังที่ได้กล่าวไปในบทความครั้งที่แล้ว
BUSINESS IN ASIA.COM ได้ทำการเปรียบเทียบปัจจัยที่ใช้ในการลงทุนในประเทศไทย จีน และเวียดนาม ว่าแต่ละประเทศ มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในปัจจัยใดบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว เลยขอใช้พื้นที่ตรงนี้ มาสรุปให้ท่านผู้อ่านได้เห็น โดยเฉพาะในส่วนของปัจจัยที่มีความแตกต่างกัน เพื่อที่จะได้ รู้เขา และรู้เรา มากขึ้นกว่าเดิม
ปัจจัยแรกที่สำคัญที่ใช้ในการเลือกประเทศที่จะลงทุนคือ ปัจจัยในการถือครองที่ดิน ประเทศไทยมีความได้เปรียบในส่วนนี้ เนื่องจากเราอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ สามารถเข้ามาซื้อที่ดินในการสร้างโรงงานได้ แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศเวียดนาม และจีน อนุญาตให้ถือครองที่ดิน ในลักษณะการเช่าระยะยาว 40-50 ปี แต่ไม่อนุญาตให้ซื้อขาดได้
ปัจจัยถัดมาคือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่นเดียวกัน ประเทศไทยค่อนข้างใจดีมาก นักลงทุนมีโอกาสได้รับการยกเว้นทางด้านภาษี ได้นานถึง 8 ปี ในโครงการที่ BOI อนุมัติ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับสิทธิในการลดภาษีลงครึ่งหนึ่งต่ออีก 5 ปี หลังจากช่วงเวลาในการยกเว้นทางด้านภาษีได้จบสิ้นไป
ประเทศจีนให้สิทธิในการยกเว้นภาษีได้ใน 2 ปีแรก และให้สิทธิในการลดภาษีลงครึ่งหนึ่งในอีก 3 ปีถัดมา เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย
สำหรับเวียดนามที่มีโครงสร้างภาษีค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งโดยปกติ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะอยู่ในอัตราร้อยละ 28 (ยกเว้น ธุรกิจน้ำมันที่อัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 50) แต่นักลงทุนอาจได้รับสิทธิพิเศษในการลดภาษีเหลือ ร้อยละ 20% 15% หรือ 10% ในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับสิทธิในการยกเว้นภาษีว่าจะเป็นกี่ปีนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆ ที่เข้าไปลงทุน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นได้นานถึง 8 ปี ในพื้นที่ชนบท ดังนั้นในภาพรวมแล้ว ประเทศไทยให้สิทธิทางด้านภาษีที่ง่ายกว่าและมากกว่าประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งนับว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ
สำหรับปัจจัยแรงงาน แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled labor) ของไทยมีค่าแรงสูงกว่าทั้งเวียดนามและจีน จึงทำให้ประเทศไทยมีความเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนค่าแรงงานอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของแรงงานฝีมือ (Skilled labor) เวียดนามมีปัญหามาก เนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยในส่วนนี้ ประเทศไทยและจีนมีความได้เปรียบเหนือเวียดนามอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ประเทศไทยและจีนยังมีอุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุนอยู่มากกว่าเวียดนามที่มีข้อจำกัดของอุตสาหกรรมเชื่อมโยงที่มีค่อนข้างน้อย ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ จึงเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากนอกประเทศ
สำหรับปัจจัยขนาดตลาดภายในประเทศ เป็นที่แน่นอนว่าประเทศจีนมีความได้เปรียบในเรื่องตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ จากการที่มีประชากรอยู่มากกว่า 1,300 ล้านคน สำหรับเวียดนาม แม้นว่าจำนวนประชากรที่มีกว่า 85 ล้านคน จะมากกว่าไทยที่มีประชากรอยู่ประมาณ 65 ล้านคน แต่เนื่องจากกำลังซื้อของคนเวียดนามยังต่ำกว่าไทยอยู่มาก จึงทำให้ประเทศไทยมีขนาดของตลาดภายในประเทศไทยที่มีกำลังซื้อมากกว่าเวียดนาม
จากการเปรียบเทียบปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ใช้พิจารณาในการลงทุนยังประเทศ ไทย จีน และเวียดนาม พบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังมีปัจจัยส่วนใหญ่ ที่มีความได้เปรียบเหนือกว่าประเทศเวียดนาม หรือแม้นแต่กระทั้งประเทศจีน แต่สำหรับปัจจัยที่ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับจีนและเวียดนามได้อย่างชัดเจนคือ ค่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือ และขนาดตลาดภายในประเทศ ที่จีนมีขนาดตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างชัดเจน
สำหรับมาตรการที่ใช้ในการส่งเสริมการลงทุน ประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีกับนักลงทุน มากกว่าที่ประเทศเวียดนามและจีนให้แก่นักลงทุน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ประเทศไทย จะต้องให้สิทธิหรือข้อยกเว้นทางด้านภาษีแก่นักลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว การวางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมไทยให้เดินต่อไปข้างหน้า ควรพิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนที่ประเทศไทยมี โดยควรส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ อย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือเข้มข้น เป็นต้น เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถเดินก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และสามารถใช้ประโยชน์จากประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานไร้ฝืมือถูก อย่างเช่น เวียดนาม และจีนได้นั่นเอง
* "เปรียบเทียบการลงทุนใน ไทย จีน และเวียดนาม" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 13 ก.ย. 2550
ยิ่งไปกว่านั้น จากการที่เวียดนามได้มีการลงและเลิกภาษีศุลกากรภายใต้กรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) จะเป็นโอกาสที่ดี ที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยสามารถเข้าไปในตลาดเวียดนาม รวมถึงโอกาสในการใช้เส้นทาง East-West Corridor ที่เชื่อมระหว่างไทย ลาว จีน และเวียดนาม เพื่อเข้าสู่ตลาดใหญ่ที่สำคัญอย่างจีนอีกด้วย ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโอกาสที่ดีของอุตสาหกรรมไทยในภูมิภาคนี้ ซึ่งการวางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมไทยต่อไปข้างหน้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางอย่างถูกต้อง มิใช่มัวแต่เดินกลับหลังไปสู้เรื่องค่าแรงงานถูก ดังที่ได้กล่าวไปในบทความครั้งที่แล้ว
BUSINESS IN ASIA.COM ได้ทำการเปรียบเทียบปัจจัยที่ใช้ในการลงทุนในประเทศไทย จีน และเวียดนาม ว่าแต่ละประเทศ มีความได้เปรียบหรือเสียเปรียบในปัจจัยใดบ้าง ซึ่งผมคิดว่าเป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว เลยขอใช้พื้นที่ตรงนี้ มาสรุปให้ท่านผู้อ่านได้เห็น โดยเฉพาะในส่วนของปัจจัยที่มีความแตกต่างกัน เพื่อที่จะได้ รู้เขา และรู้เรา มากขึ้นกว่าเดิม
ปัจจัยแรกที่สำคัญที่ใช้ในการเลือกประเทศที่จะลงทุนคือ ปัจจัยในการถือครองที่ดิน ประเทศไทยมีความได้เปรียบในส่วนนี้ เนื่องจากเราอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ สามารถเข้ามาซื้อที่ดินในการสร้างโรงงานได้ แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศเวียดนาม และจีน อนุญาตให้ถือครองที่ดิน ในลักษณะการเช่าระยะยาว 40-50 ปี แต่ไม่อนุญาตให้ซื้อขาดได้
ปัจจัยถัดมาคือ มาตรการส่งเสริมการลงทุน เช่นเดียวกัน ประเทศไทยค่อนข้างใจดีมาก นักลงทุนมีโอกาสได้รับการยกเว้นทางด้านภาษี ได้นานถึง 8 ปี ในโครงการที่ BOI อนุมัติ นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้รับสิทธิในการลดภาษีลงครึ่งหนึ่งต่ออีก 5 ปี หลังจากช่วงเวลาในการยกเว้นทางด้านภาษีได้จบสิ้นไป
ประเทศจีนให้สิทธิในการยกเว้นภาษีได้ใน 2 ปีแรก และให้สิทธิในการลดภาษีลงครึ่งหนึ่งในอีก 3 ปีถัดมา เท่านั้น ซึ่งค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทย
สำหรับเวียดนามที่มีโครงสร้างภาษีค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งโดยปกติ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะอยู่ในอัตราร้อยละ 28 (ยกเว้น ธุรกิจน้ำมันที่อัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 50) แต่นักลงทุนอาจได้รับสิทธิพิเศษในการลดภาษีเหลือ ร้อยละ 20% 15% หรือ 10% ในช่วงเวลาหนึ่ง สำหรับสิทธิในการยกเว้นภาษีว่าจะเป็นกี่ปีนั้น ขึ้นอยู่กับพื้นที่ๆ ที่เข้าไปลงทุน ซึ่งอาจได้รับการยกเว้นได้นานถึง 8 ปี ในพื้นที่ชนบท ดังนั้นในภาพรวมแล้ว ประเทศไทยให้สิทธิทางด้านภาษีที่ง่ายกว่าและมากกว่าประเทศจีนและเวียดนาม ซึ่งนับว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ
สำหรับปัจจัยแรงงาน แรงงานไร้ฝีมือ (Unskilled labor) ของไทยมีค่าแรงสูงกว่าทั้งเวียดนามและจีน จึงทำให้ประเทศไทยมีความเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนค่าแรงงานอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของแรงงานฝีมือ (Skilled labor) เวียดนามมีปัญหามาก เนื่องจากยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถ โดยในส่วนนี้ ประเทศไทยและจีนมีความได้เปรียบเหนือเวียดนามอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ประเทศไทยและจีนยังมีอุตสาหกรรมเชื่อมโยงและสนับสนุนอยู่มากกว่าเวียดนามที่มีข้อจำกัดของอุตสาหกรรมเชื่อมโยงที่มีค่อนข้างน้อย ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่ จึงเป็นวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากนอกประเทศ
สำหรับปัจจัยขนาดตลาดภายในประเทศ เป็นที่แน่นอนว่าประเทศจีนมีความได้เปรียบในเรื่องตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ จากการที่มีประชากรอยู่มากกว่า 1,300 ล้านคน สำหรับเวียดนาม แม้นว่าจำนวนประชากรที่มีกว่า 85 ล้านคน จะมากกว่าไทยที่มีประชากรอยู่ประมาณ 65 ล้านคน แต่เนื่องจากกำลังซื้อของคนเวียดนามยังต่ำกว่าไทยอยู่มาก จึงทำให้ประเทศไทยมีขนาดของตลาดภายในประเทศไทยที่มีกำลังซื้อมากกว่าเวียดนาม
จากการเปรียบเทียบปัจจัยสำคัญต่างๆ ที่ใช้พิจารณาในการลงทุนยังประเทศ ไทย จีน และเวียดนาม พบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังมีปัจจัยส่วนใหญ่ ที่มีความได้เปรียบเหนือกว่าประเทศเวียดนาม หรือแม้นแต่กระทั้งประเทศจีน แต่สำหรับปัจจัยที่ประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับจีนและเวียดนามได้อย่างชัดเจนคือ ค่าจ้างแรงงานไร้ฝีมือ และขนาดตลาดภายในประเทศ ที่จีนมีขนาดตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างชัดเจน
สำหรับมาตรการที่ใช้ในการส่งเสริมการลงทุน ประเทศไทยให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีกับนักลงทุน มากกว่าที่ประเทศเวียดนามและจีนให้แก่นักลงทุน ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ประเทศไทย จะต้องให้สิทธิหรือข้อยกเว้นทางด้านภาษีแก่นักลงทุนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สรุปแล้ว การวางยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมไทยให้เดินต่อไปข้างหน้า ควรพิจารณาจากจุดแข็งและจุดอ่อนที่ประเทศไทยมี โดยควรส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ อย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือเข้มข้น เป็นต้น เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถเดินก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และสามารถใช้ประโยชน์จากประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานไร้ฝืมือถูก อย่างเช่น เวียดนาม และจีนได้นั่นเอง
* "เปรียบเทียบการลงทุนใน ไทย จีน และเวียดนาม" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 13 ก.ย. 2550
Subscribe to:
Posts (Atom)