ข่าวใหญ่และสำคัญที่สุดในช่วงสัปดาห์นี้ที่ทั่วโลกจับตามองคงหนีไม่พ้นเรื่องการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (6 พฤษจิกายน ตามเวลาของประเทศสหรัฐอเมริกา) และการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 ที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 8 พฤษจิกายน ซึ่งจะมีการเลือกนาย สี จิ้นผิง (Xi Jinping) (รองประธานาธิบดีจีนในปัจจุบัน) เป็นผู้นำคนใหม่ของจีนต่อจากนาย หู จิ่นเทา (Hu Jintao) ในเดือนมีนาคมของปีหน้า
สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ เป็นการขับเคี่ยวระหว่างนาย บารัค โอบามา (Barack Obama) ตัวแทนพรรคเดโมแครต กับนาย มิตต์ รอมนีย์ (Mitt Romney) ตัวแทนพรรครีพับริกัน มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องเล็กๆ ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยและผมอยากพูดถึงในวันนี้คือ การขึ้นมาเป็นผู้แข่งขันชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรครีพับริกันของ นาย พอล ไรอัน (Paul Ryan)
นาย พอล ไรอัน ถือได้ว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่น่าสนใจด้วยวัยเพียง 42 ปีในปัจจุบัน เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาคองเกรสที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้นด้วยวัย 28 ปี แต่บทบาทสำคัญที่ทำให้นาย พอล ไรอัน เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนนำไปสู่การได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรครีพับริกันในครั้งนี้คือ การเป็นประธานคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณแผ่นดินของสภาคอนเกรส ซึ่งในปีที่แล้ว เขาได้นำเสนอแผนการปรับลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล โดยเน้นการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ
ตัวอย่างของแผนการลดงบประมาณรายจ่ายที่เขานำเสนอ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล Medicare ที่เป็นระบบประกันสุขภาพของรัฐบาลกลางซึ่งเน้นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเพดานวงเงินสูงสุดที่สามารถเบิกจ่ายจากรัฐได้ (สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ในลักษณะเดียวกันกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการของประเทศไทย) ซึ่งนาย พอล ไรอัน มองว่าระบบ Medicare มีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ไม่ยั่งยืน และมีโอกาสที่จะล้มละลายได้ในอนาคต เขาได้เสนอให้เปลี่ยนมาเป็นการให้คูปอง (Voucher) ที่สามารถใช้ในการอุดหนุนการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคลแทน เป็นต้น
แน่นอนที่สุด แนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบประกันสังคมต่างๆ ที่นาย พอล ไรอัน ได้นำเสนอออกมานั้น ถูกโจมตีอย่างรุนแรงในหลายด้าน และเป็นที่เกลียดชังของผู้ที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน (หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังจะเข้ามาอยู่ในระบบ Medicare) แต่อย่างน้อยสิ่งดีที่เห็นได้จากตัว นาย พอล ไรอัน คือ ความกล้าที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่ยาวนาน รวมถึงภาระหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นของประเทศ ที่มีรายละเอียดและเป็นรูปธรรม เขาได้ตอกย้ำให้คนสหรัฐอเมริกาได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่สามารถแก้ไขด้วยการอยู่เฉย (โดยไม่ทำอะไร แล้วบอกแต่ว่า เดี่ยวเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นเมื่อไหร่ ภาระหนี้หรือการขาดดุลงบประมาณที่มีก็จะลดลงเหมือนในบางประเทศ) แต่ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการปรับลดงบประมาณรายจ่ายบางประเภทลง
เป็นที่น่าเสียดายว่า จนถึงวันนี้บทบาทของนาย พอล ไรอัน ที่มีในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างถูกจำกัดเป็นอย่างมาก พรรครีพับริกันเองสุดท้ายก็ไม่กล้าที่จะนำเสนอนโยบายลดรายจ่ายที่มีรายละเอียดมากนัก เพราะส่วนหนึ่งก็เกรงจะเสียฐานคะแนนเสียงจากชนชั้นกลางที่ยังต้องพึ่งระบบสวัสดิการรักษาพยายาลของรัฐในปัจจุบัน แต่ไม่ว่าอย่างไรตาม การขึ้นมาอย่างรวดเร็วถึงจุดนี้ของนาย พอล ไรอัน ก็เป็นปรากฎการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสหรัฐอเมริกาได้ตอบรับและให้ความสำคัญ รวมถึงต้องการเห็นการนำเสนอนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม มีรายละเอียด สามารถทำได้จริง รวมถึงการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน แม้ในปัจจุบัน ฐานะทางการคลังของประเทศยังคงแข็งแกร่ง แต่หากมองไปข้างหน้า ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ (จากรายจ่ายในโครงการประชานิยมต่างๆ รวมถึงแผนการลงทุนสร้างอนาคต 2 ล้านล้านบาท ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกไม่ดีเช่นนี้) คงจะดีไม่น้อย หากเราได้เห็นนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ของประเทศไทย (อย่างเช่น นาย พอล ไรอัน ของประเทศสหรัฐอเมริกา) กล้าที่จะออกมานำเสนอนโยบายหรือแนวทางในการหาแหล่งรายได้รัฐเพิ่มเพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเป็นรูปธรรม หรือแม้แต่การนำเสนอการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบางอย่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีประสิทธิภาพลง มิใช่มีเพียงแต่การนำเสนอนโยบายใช้จ่ายดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
สำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ เป็นการขับเคี่ยวระหว่างนาย บารัค โอบามา (Barack Obama) ตัวแทนพรรคเดโมแครต กับนาย มิตต์ รอมนีย์ (Mitt Romney) ตัวแทนพรรครีพับริกัน มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง แต่เรื่องเล็กๆ ที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยและผมอยากพูดถึงในวันนี้คือ การขึ้นมาเป็นผู้แข่งขันชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีจากพรรครีพับริกันของ นาย พอล ไรอัน (Paul Ryan)
นาย พอล ไรอัน ถือได้ว่าเป็นนักการเมืองรุ่นใหม่ที่น่าสนใจด้วยวัยเพียง 42 ปีในปัจจุบัน เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกสภาคองเกรสที่อายุน้อยที่สุดในขณะนั้นด้วยวัย 28 ปี แต่บทบาทสำคัญที่ทำให้นาย พอล ไรอัน เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนนำไปสู่การได้รับเลือกเป็นตัวแทนของพรรครีพับริกันในครั้งนี้คือ การเป็นประธานคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณแผ่นดินของสภาคอนเกรส ซึ่งในปีที่แล้ว เขาได้นำเสนอแผนการปรับลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล โดยเน้นการปรับลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลกลางเป็นสำคัญ
ตัวอย่างของแผนการลดงบประมาณรายจ่ายที่เขานำเสนอ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนระบบสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล Medicare ที่เป็นระบบประกันสุขภาพของรัฐบาลกลางซึ่งเน้นให้แก่ผู้สูงอายุที่มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด ที่ไม่มีการกำหนดเพดานวงเงินสูงสุดที่สามารถเบิกจ่ายจากรัฐได้ (สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริง ในลักษณะเดียวกันกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการของประเทศไทย) ซึ่งนาย พอล ไรอัน มองว่าระบบ Medicare มีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป ไม่ยั่งยืน และมีโอกาสที่จะล้มละลายได้ในอนาคต เขาได้เสนอให้เปลี่ยนมาเป็นการให้คูปอง (Voucher) ที่สามารถใช้ในการอุดหนุนการซื้อประกันสุขภาพส่วนบุคคลแทน เป็นต้น
แน่นอนที่สุด แนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบประกันสังคมต่างๆ ที่นาย พอล ไรอัน ได้นำเสนอออกมานั้น ถูกโจมตีอย่างรุนแรงในหลายด้าน และเป็นที่เกลียดชังของผู้ที่อยู่ในระบบประกันสุขภาพในปัจจุบัน (หรือแม้แต่ผู้ที่กำลังจะเข้ามาอยู่ในระบบ Medicare) แต่อย่างน้อยสิ่งดีที่เห็นได้จากตัว นาย พอล ไรอัน คือ ความกล้าที่จะนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณที่ยาวนาน รวมถึงภาระหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นของประเทศ ที่มีรายละเอียดและเป็นรูปธรรม เขาได้ตอกย้ำให้คนสหรัฐอเมริกาได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่สามารถแก้ไขด้วยการอยู่เฉย (โดยไม่ทำอะไร แล้วบอกแต่ว่า เดี่ยวเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นเมื่อไหร่ ภาระหนี้หรือการขาดดุลงบประมาณที่มีก็จะลดลงเหมือนในบางประเทศ) แต่ต้องแลกมาด้วยความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากการปรับลดงบประมาณรายจ่ายบางประเภทลง
เป็นที่น่าเสียดายว่า จนถึงวันนี้บทบาทของนาย พอล ไรอัน ที่มีในการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาค่อนข้างถูกจำกัดเป็นอย่างมาก พรรครีพับริกันเองสุดท้ายก็ไม่กล้าที่จะนำเสนอนโยบายลดรายจ่ายที่มีรายละเอียดมากนัก เพราะส่วนหนึ่งก็เกรงจะเสียฐานคะแนนเสียงจากชนชั้นกลางที่ยังต้องพึ่งระบบสวัสดิการรักษาพยายาลของรัฐในปัจจุบัน แต่ไม่ว่าอย่างไรตาม การขึ้นมาอย่างรวดเร็วถึงจุดนี้ของนาย พอล ไรอัน ก็เป็นปรากฎการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสหรัฐอเมริกาได้ตอบรับและให้ความสำคัญ รวมถึงต้องการเห็นการนำเสนอนโยบายต่างๆ ที่เป็นรูปธรรม มีรายละเอียด สามารถทำได้จริง รวมถึงการรักษาวินัยทางการคลังของประเทศ
ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน แม้ในปัจจุบัน ฐานะทางการคลังของประเทศยังคงแข็งแกร่ง แต่หากมองไปข้างหน้า ก็ยังไม่สามารถวางใจได้ (จากรายจ่ายในโครงการประชานิยมต่างๆ รวมถึงแผนการลงทุนสร้างอนาคต 2 ล้านล้านบาท ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกไม่ดีเช่นนี้) คงจะดีไม่น้อย หากเราได้เห็นนักการเมืองรุ่นใหม่ๆ ของประเทศไทย (อย่างเช่น นาย พอล ไรอัน ของประเทศสหรัฐอเมริกา) กล้าที่จะออกมานำเสนอนโยบายหรือแนวทางในการหาแหล่งรายได้รัฐเพิ่มเพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเป็นรูปธรรม หรือแม้แต่การนำเสนอการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบางอย่างที่ไม่จำเป็นหรือไม่มีประสิทธิภาพลง มิใช่มีเพียงแต่การนำเสนอนโยบายใช้จ่ายดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้
* "การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2012" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 5 พ.ย. 2555
No comments:
Post a Comment