หากย้อนเวลากลับไปเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2007 นาย Warren Buffet มหาเศรษฐีของโลกได้กล่าวในงานเลี้ยงเพื่อระดมทุนในการเลือกตั้งเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตว่า ปัจจุบันเขาเสียอัตราภาษีเพียงร้อยละ 17.7 ของรายได้ (อย่างถูกต้องตามกฎหมาย) ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีที่เลขานุการของเขาที่เสียในอัตราร้อยละ 30 สิ่งที่นาย Warren Buffet ได้กล่าวมาในวันนั้น ได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีถึงความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีที่ไม่สามารถทำให้ผู้ที่มีรายได้มาก (หรือผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายภาษีสูง) เสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย (หรือผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายภาษีต่ำ) ได้
ความล้มเหลวของระบบภาษีดังกล่าว ดูเหมือนจะถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปลายปีนี้จากพรรครีพับลิกัน นาย Mitt Rommey ได้เปิดเผยข้อมูลการเสียภาษีที่ผ่านมา โดยเขาและภรรยาจ่ายอัตราภาษีที่แท้จริงเพียงร้อยละ 13.9 ของรายได้ในปี ค.ศ. 2010 และร้อยละ 15.4 ในปี ค.ศ. 2011 ทั้งนี้ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนเกินทุน (Capital gains tax) เช่น กำไรที่ได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปีในอัตราร้อยละ 15 ในขณะที่อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับมาจากเงินเดือนนั้น ขั้นสูงสุดที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 35 (ภายใต้กฎหมายลดอัตราภาษีที่ออกมาโดยประธานาธิบดี George W. Bush ในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งประธานาธิบดี Barack Obama ได้ต่ออายุกฎหมายฉบับนี้ออกไปจนถึงสิ้นปีนี้) ดังนั้นภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน ทั้งนาย Warren Buffet และนาย Mitt Rommey ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการลงทุน จึงเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเป็นส่วนใหญ่
ปัญหาของระบบภาษีที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรณีของ นาย Warren Buffet และนาย Mitt Rommey แต่เพียงเท่านั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกล้วนประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็ยังไม่มีการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนเกินทุน (Capital gains tax) ถึงแม้ในปีที่แล้วจะมีความพยายามนำเสนอให้มีการจัดเก็บภาษี Capital gains แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ นักลงทุนที่มีรายได้หรือกำไรอย่างมหาศาลจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ยังคงไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้ รายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยเงินฝาก นักลงทุนก็สามารถเลือกจ่ายภาษีในอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 และร้อยละ 15 ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นอัตราภาษีที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นักลงทุนนั้นต้องจ่าย ดังนั้นเราจึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ระบบภาษีในปัจจุบันของประเทศไทย ยังมีลักษณะที่ล้มเหลว (ตามหลักการภาษีที่ดี) โดยขาดความเป็นธรรม (Fairness) ที่ผู้มีรายได้มากสามารถจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าได้
หนึ่งในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีดังกล่าว ดูเหมือนจะเริ่มถูกนำเสนอและผลักดันในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดี Barack Obama ได้นำเสนอร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012 ออกมา (หรือที่ถูกเรียกว่า “the Buffet Rule”) แม้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยลดการขาดดุลงบประมาณที่เกิดขึ้น แต่ก็ถูกกล่าวถึงว่าสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีที่มีอยู่เดิมได้ โดยกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย (Adjusted gross income) หลังหักเงินบริจาคเพื่อการกุศล จะต้องจ่ายภาษีส่วนเพิ่ม (Surtax) (เพิ่มเติมไปจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีอื่นๆ ที่ยังคงต้องจ่ายอยู่) ในส่วนของรายได้ที่เหลือเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นต้นไป ในอัตราขั้นต่ำร้อยละ 30 (แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักในหลายเรื่อง เช่น ผู้ที่มีรายได้สูงและจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 30 อยู่แล้ว ก็จะไม่ถูกกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงอาจทำให้เกิดการบิดเบือนจากการลงทุนขึ้น)
แม้ว่าในวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกนำเสนอในสภาสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ผลปรากฎว่า สมาชิกสภาสูงที่ให้การสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้มีเพียง 51 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง ซึ่งไม่เพียงพอ (ต้องการเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 3 ใน 5 หรือ 60 เสียง) ที่จะทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่กระบวนการจัดทำกฎหมายต่อไปได้ แต่ประเด็นความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีในปัจจุบันก็ยังคงอยู่ และก็จะกลายเป็นประเด็นร้อนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปีนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้ ทั้งนาย Barack Obama จากพรรคเดโมแครต กับนาย Mitt Rommey จากพรรครีพับลิกัน ต่างมีนโยบายภาษีที่เรียกว่าตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง เช่น นาย Barack Obama จะผลักดันนโยบายไปในแนวทางเดียวกันกับร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012 ที่ออกมา โดยจะไม่ต่ออายุกฎหมายลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ออกมาโดยประธานาธิบดี George W. Bush ออกไปอีก (สิ้นสุดเดือนธันวาคมปีนี้) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดจะถูกปรับเพิ่มกลับมาที่ร้อยละ 39.6 (จากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 35) นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่จะเพิ่มอัตราภาษี Capital gains tax จากร้อยละ 15 มาเป็นร้อยละ 20 ในขณะที่ นาย Mitt Rommey เสนอให้มีการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกอัตราลงจากอัตราเดิมร้อยละ 20 และจะเพิ่มข้อยกเว้นสำหรับการจัดเก็บภาษี Capital gains tax เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้
แม้ว่านโยบายที่ออกมาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งจะมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อใช้ในการหาเสียง แต่ก็น่าดีใจไม่น้อยที่ปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีจะไม่ถูกซุกเก็บไว้อีกต่อไป และเมื่อใดก็ตามที่สังคมมองเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหานี้มากขึ้น ผมเชื่อว่า แรงกดดันจากสังคมจะช่วยผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะนักการเมือง ต้องเร่งนำเสนอนโยบายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีที่มีมาอย่างยาวนานนี้ได้อย่างแน่นอน
*"ร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 7 พ.ค. 2555
ความล้มเหลวของระบบภาษีดังกล่าว ดูเหมือนจะถูกตอกย้ำอีกครั้งเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปลายปีนี้จากพรรครีพับลิกัน นาย Mitt Rommey ได้เปิดเผยข้อมูลการเสียภาษีที่ผ่านมา โดยเขาและภรรยาจ่ายอัตราภาษีที่แท้จริงเพียงร้อยละ 13.9 ของรายได้ในปี ค.ศ. 2010 และร้อยละ 15.4 ในปี ค.ศ. 2011 ทั้งนี้ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนเกินทุน (Capital gains tax) เช่น กำไรที่ได้จากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับการลงทุนที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปีในอัตราร้อยละ 15 ในขณะที่อัตราภาษีรายได้บุคคลธรรมดาที่ได้รับมาจากเงินเดือนนั้น ขั้นสูงสุดที่จัดเก็บในปัจจุบันอยู่ที่อัตราร้อยละ 35 (ภายใต้กฎหมายลดอัตราภาษีที่ออกมาโดยประธานาธิบดี George W. Bush ในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งประธานาธิบดี Barack Obama ได้ต่ออายุกฎหมายฉบับนี้ออกไปจนถึงสิ้นปีนี้) ดังนั้นภายใต้กฎหมายในปัจจุบัน ทั้งนาย Warren Buffet และนาย Mitt Rommey ซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการลงทุน จึงเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเป็นส่วนใหญ่
ปัญหาของระบบภาษีที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะในกรณีของ นาย Warren Buffet และนาย Mitt Rommey แต่เพียงเท่านั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกล้วนประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน ประเทศไทยเองก็ยังไม่มีการจัดเก็บภาษีกำไรส่วนเกินทุน (Capital gains tax) ถึงแม้ในปีที่แล้วจะมีความพยายามนำเสนอให้มีการจัดเก็บภาษี Capital gains แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ นักลงทุนที่มีรายได้หรือกำไรอย่างมหาศาลจากการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ยังคงไม่ต้องเสียภาษี นอกจากนี้ รายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยเงินฝาก นักลงทุนก็สามารถเลือกจ่ายภาษีในอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 และร้อยละ 15 ตามลำดับ ซึ่งอาจเป็นอัตราภาษีที่ต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่นักลงทุนนั้นต้องจ่าย ดังนั้นเราจึงไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ระบบภาษีในปัจจุบันของประเทศไทย ยังมีลักษณะที่ล้มเหลว (ตามหลักการภาษีที่ดี) โดยขาดความเป็นธรรม (Fairness) ที่ผู้มีรายได้มากสามารถจ่ายภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่าได้
หนึ่งในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีดังกล่าว ดูเหมือนจะเริ่มถูกนำเสนอและผลักดันในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดี Barack Obama ได้นำเสนอร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012 ออกมา (หรือที่ถูกเรียกว่า “the Buffet Rule”) แม้ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้จะมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยลดการขาดดุลงบประมาณที่เกิดขึ้น แต่ก็ถูกกล่าวถึงว่าสามารถช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีที่มีอยู่เดิมได้ โดยกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย (Adjusted gross income) หลังหักเงินบริจาคเพื่อการกุศล จะต้องจ่ายภาษีส่วนเพิ่ม (Surtax) (เพิ่มเติมไปจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีอื่นๆ ที่ยังคงต้องจ่ายอยู่) ในส่วนของรายได้ที่เหลือเกิน 1 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นต้นไป ในอัตราขั้นต่ำร้อยละ 30 (แต่ร่างกฎหมายฉบับนี้ก็ถูกวิพากย์วิจารณ์อย่างหนักในหลายเรื่อง เช่น ผู้ที่มีรายได้สูงและจ่ายภาษีในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 30 อยู่แล้ว ก็จะไม่ถูกกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ รวมถึงอาจทำให้เกิดการบิดเบือนจากการลงทุนขึ้น)
แม้ว่าในวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ถูกนำเสนอในสภาสูงของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ผลปรากฎว่า สมาชิกสภาสูงที่ให้การสนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้มีเพียง 51 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง ซึ่งไม่เพียงพอ (ต้องการเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 3 ใน 5 หรือ 60 เสียง) ที่จะทำให้ร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าสู่กระบวนการจัดทำกฎหมายต่อไปได้ แต่ประเด็นความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีในปัจจุบันก็ยังคงอยู่ และก็จะกลายเป็นประเด็นร้อนของการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในปีนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อผู้สมัครเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้ ทั้งนาย Barack Obama จากพรรคเดโมแครต กับนาย Mitt Rommey จากพรรครีพับลิกัน ต่างมีนโยบายภาษีที่เรียกว่าตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง เช่น นาย Barack Obama จะผลักดันนโยบายไปในแนวทางเดียวกันกับร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012 ที่ออกมา โดยจะไม่ต่ออายุกฎหมายลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ออกมาโดยประธานาธิบดี George W. Bush ออกไปอีก (สิ้นสุดเดือนธันวาคมปีนี้) อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดจะถูกปรับเพิ่มกลับมาที่ร้อยละ 39.6 (จากปัจจุบันที่อัตราร้อยละ 35) นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่จะเพิ่มอัตราภาษี Capital gains tax จากร้อยละ 15 มาเป็นร้อยละ 20 ในขณะที่ นาย Mitt Rommey เสนอให้มีการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกอัตราลงจากอัตราเดิมร้อยละ 20 และจะเพิ่มข้อยกเว้นสำหรับการจัดเก็บภาษี Capital gains tax เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้
แม้ว่านโยบายที่ออกมาเหล่านี้ ส่วนหนึ่งจะมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อใช้ในการหาเสียง แต่ก็น่าดีใจไม่น้อยที่ปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีจะไม่ถูกซุกเก็บไว้อีกต่อไป และเมื่อใดก็ตามที่สังคมมองเห็นและให้ความสำคัญกับปัญหานี้มากขึ้น ผมเชื่อว่า แรงกดดันจากสังคมจะช่วยผลักดันให้ผู้กำหนดนโยบาย โดยเฉพาะนักการเมือง ต้องเร่งนำเสนอนโยบายที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบภาษีที่มีมาอย่างยาวนานนี้ได้อย่างแน่นอน
*"ร่างกฎหมาย Paying a Fair Tax Share Act of 2012" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 7 พ.ค. 2555
No comments:
Post a Comment