ในวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก และร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับ การให้ทรัพย์สิน ซึ่งในร่าง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก ได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดไว้ที่ร้อยละ 10 ในส่วนของมรดกที่มีมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท (อัตราภาษีที่จัดเก็บจริงอาจต่ำกว่านี้ได้โดยการออกตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดอัตราการบังคับใช้จริง) และในส่วนของภาษีเงินได้จากการรับการให้นั้นจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 สำหรับทรัพย์ในส่วนที่เกิน 10 ล้านบาท โดยทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดเก็บภาษีการรับมรดกและภาษีที่เกี่ยวกับการรับการให้ในครั้งนี้ว่า “เป็นสัญลักษณ์ของการดูแลซึ่งกันและกัน คนที่มีรายได้มากต้องเห็นใจคนที่มีรายได้น้อยกว่า เรื่องของจำนวนเงินคงได้มาไม่มาก” นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้ให้สัมภาษณ์ไปในทิศทางเดียวกันว่า “วัตถุประสงค์ของสองร่างกฎหมายดังกล่าว เพื่อเป็นการกระจายรายได้และลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ ซึ่งกรมไม่ได้คาดหวังในแง่ของรายได้ที่จะจัดเก็บได้เพิ่มขึ้นมากนัก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการรับให้มรดกด้วย อย่างไรก็ดี กรมได้ประเมินกลุ่มผู้ที่มีทรัพย์สินเกินกว่า 50 ล้านบาท มีอยู่จำนวนประมาณ 1 หมื่นราย”
แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุใด การผลักดันร่าง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก และการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับให้ทรัพย์สินในครั้งนี้ จึงเป็นไปอย่างเงียบๆ จากกรมสรรพากรและฝ่ายบริหาร โดยแทบจะไม่มีการนำเสนอผลการศึกษาหรือการจัดเวทีสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณะชนได้รับทราบ ทั้งที่ภาษีการรับมรดกยังคงเป็นประเด็นร้อนทางวิชาการที่มีทั้งข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งให้ถกเถียงกัน โดยที่ไม่มีข้อสรุปว่าเป็นภาษีที่ดีและเหมาะสมหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว เหตุผลที่สนับสนุนการจัดเก็บภาษีการรับมรดก คือ หนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และสอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้รัฐบาล แต่ภาษีที่จะออกมาในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญทั้งสองข้อได้เลย กล่าวคือ
หนึ่ง ผลในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านรายได้ ที่ดูแล้วคงไม่สามารถคาดหวังได้ว่าภาษีการรับมรดกจะทำให้ปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของคนไทยลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะมีกลุ่มผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท อยู่เพียงประมาณ 1 หมื่นรายเท่านั้น และในแต่ละปีจะมีจำนวนผู้เสียภาษีการรับมรดกจริงน้อยกว่านี้มาก ดังนั้นคงคาดหวังได้ยากว่า การจัดเก็บภาษีการรับมรดกจะสามารถทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนไทยลดลงได้อย่างจริงจัง
สอง ผลทางรายได้ ตามที่ผู้เกี่ยวข้องได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีความคาดหวังว่า รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นมากมายนัก (โดยก่อนหน้านี้ได้มีการประเมินรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท) ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลเองก็คงกลัวที่จะนำภาษีการรับมรดกมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มรายได้หรือลดความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง จึงไม่กล้าที่จะกำหนดอัตราภาษีที่จัดเก็บให้สูงดังเช่นอัตราที่จัดเก็บในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่จัดเก็บอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 40 หรือประเทศญี่ปุ่นที่จัดเก็บอัตราภาษีสุดสุดที่ร้อยละ 50 เป็นต้น
ในทางตรงกันข้าม เหตุผลทั้งในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติมากมายที่คัดค้านการจัดเก็บภาษีการรับมรดก (จนนำไปสู่การยกเลิกการจัดเก็บภาษีการรับมรดกแล้วในหลายประเทศ) ได้แก่
หนึ่ง ต้นทุนทางภาษีที่สูง ทั้งนี้ต้นทุนทางภาษีนับเป็นหลักการสำคัญเรื่องหนึ่งในการประเมินระบบภาษีว่าดีหรือไม่ โดยภาษีที่ดีควรมีต้นทุนหรือรายจ่ายทางภาษีที่เกิดขึ้นกับผู้เสียภาษี (Compliance cost) และต้นทุนทางภาษีที่เกิดขึ้นกับผู้จัดเก็บ (Administrative cost) ที่ต่ำ แต่สำหรับภาษีการรับมรดกและการรับการให้นั้น เป็นที่น่าเชื่อได้เลยว่า จะก่อให้เกิดต้นทุนทางภาษีกับผู้เสียภาษีค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ทั้งต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) ซึ่งคือต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ เช่น เวลาที่สูญเสียไปจากการต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อใช้เสียภาษี และต้นทุนทางบัญชี (Accounting cost) ตัวอย่างของต้นทุนทางบัญชี ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้รับมรดกจำเป็นต้องจ้างทนายความหรือบริษัทที่ให้คำปรึกษาทางด้านการเงิน (หรือทางด้านภาษี) มาช่วยดูแล ซึ่งผู้ที่ร่ำรวยมากๆ ก็คงจะมีที่ปรึกษาทางการเงินอยู่แล้ว แต่สำหรับสำหรับผู้ที่ร่ำรวยไม่มากนัก (แต่อยู่ในกลุ่มที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท) ก็คงจะมีต้นทุนในส่วนนี้ (คิดเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สิน) ที่สูงกว่าผู้ที่ร่ำรวยมากๆ ซึ่งอาจทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นได้
งานศึกษาในประเด็นนี้ที่ผ่านมาพบว่า ต้นทุนทางภาษีการรับมรดกที่เกิดขึ้นกับผู้เสียภาษีสูงถึงร้อยละ 7 ของภาษีที่จัดเก็บได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ต้องไม่ลืมว่า อัตราภาษีมรดกที่จัดเก็บในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสูงกว่าอัตราที่จะจัดเก็บในประเทศไทยมาก ดังนั้นรายได้จากภาษีการรับมรดกที่จัดเก็บได้ในประเทศไทยจะน้อยกว่ามาก ซึ่งทำให้ต้นทุนทางภาษีที่จะเกิดขึ้นกับผู้เสียภาษีเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของภาษีการรับมรดกที่จัดเก็บได้ในประเทศไทยน่าจะสูงกว่าร้อยละ 7 เป็นอย่างมาก
สอง ส่งผลให้เกิดการบิดเบือน (Distortion) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทำให้ต้นทุนของการออมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคในวันนี้ ซึ่งจะทำให้คนรวยกลุ่มนี้เลือกที่จะออมในวันนี้น้อยลงและบริโภคเพิ่มขึ้น และทำให้ต้นทุนของการลงทุนเพิ่มขึ้น เมื่อการลงทุนรวมของประเทศลดลงก็อาจส่งผลลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้
งานศึกษาบางชิ้นของประเทศสหรัฐอเมริกาถึงกับสรุปว่า การยกเลิกภาษีการรับมรดกจะช่วยทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นและจะทำให้รายได้ภาษีของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นด้วย
สาม ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี (Tax avoidance) หรือแม้แต่พฤติกรรมหนีภาษี (Tax evasion) ที่มีอยู่มากมายหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายทรัพย์สินไปต่างประเทศ หรือการโยกย้ายทรัพย์สินในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแน่นอนย่อมไม่เป็นไปตามหลักการของภาษีที่ดี
คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากการนำภาษีการรับมรดกและภาษีการรับการให้มาใช้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งต่อผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษีสูง และส่งผลให้เกิดการบิดเบือนประเภทต่างๆ โดยที่ไม่สามารถทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มรายได้ จะสมควรจริงๆ หรือไม่? ที่ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเร่งผลักดันภาษีเหล่านี้ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยยังขาดการพิจารณาตามหลักวิชาการอย่างรอบด้าน (รวมถึงการนำเสนอผลการศึกษาต่อสาธารณะชน) สุดท้ายหากคิดเพียงว่า ภาษีการรับมรดกเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการดูแลซึ่งกันและกัน ดูแล้วก็อาจไม่คุ้มกับความสูญเสียต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นติดตามมา
แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าเพราะเหตุใด การผลักดันร่าง พ.ร.บ. ภาษีการรับมรดก และการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการรับให้ทรัพย์สินในครั้งนี้ จึงเป็นไปอย่างเงียบๆ จากกรมสรรพากรและฝ่ายบริหาร โดยแทบจะไม่มีการนำเสนอผลการศึกษาหรือการจัดเวทีสัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้แก่สาธารณะชนได้รับทราบ ทั้งที่ภาษีการรับมรดกยังคงเป็นประเด็นร้อนทางวิชาการที่มีทั้งข้อสนับสนุนและข้อโต้แย้งให้ถกเถียงกัน โดยที่ไม่มีข้อสรุปว่าเป็นภาษีที่ดีและเหมาะสมหรือไม่
โดยทั่วไปแล้ว เหตุผลที่สนับสนุนการจัดเก็บภาษีการรับมรดก คือ หนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และสอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้รัฐบาล แต่ภาษีที่จะออกมาในครั้งนี้ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์สำคัญทั้งสองข้อได้เลย กล่าวคือ
หนึ่ง ผลในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านรายได้ ที่ดูแล้วคงไม่สามารถคาดหวังได้ว่าภาษีการรับมรดกจะทำให้ปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ของคนไทยลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะมีกลุ่มผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท อยู่เพียงประมาณ 1 หมื่นรายเท่านั้น และในแต่ละปีจะมีจำนวนผู้เสียภาษีการรับมรดกจริงน้อยกว่านี้มาก ดังนั้นคงคาดหวังได้ยากว่า การจัดเก็บภาษีการรับมรดกจะสามารถทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของคนไทยลดลงได้อย่างจริงจัง
สอง ผลทางรายได้ ตามที่ผู้เกี่ยวข้องได้ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีความคาดหวังว่า รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีเหล่านี้ได้เพิ่มขึ้นมากมายนัก (โดยก่อนหน้านี้ได้มีการประเมินรายได้ภาษีที่จัดเก็บได้อยู่ที่ระดับต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท) ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลเองก็คงกลัวที่จะนำภาษีการรับมรดกมาใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มรายได้หรือลดความเหลื่อมล้ำอย่างจริงจัง จึงไม่กล้าที่จะกำหนดอัตราภาษีที่จัดเก็บให้สูงดังเช่นอัตราที่จัดเก็บในประเทศอื่นๆ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษที่จัดเก็บอัตราภาษีสูงสุดที่ร้อยละ 40 หรือประเทศญี่ปุ่นที่จัดเก็บอัตราภาษีสุดสุดที่ร้อยละ 50 เป็นต้น
ในทางตรงกันข้าม เหตุผลทั้งในทางทฤษฏีและในทางปฏิบัติมากมายที่คัดค้านการจัดเก็บภาษีการรับมรดก (จนนำไปสู่การยกเลิกการจัดเก็บภาษีการรับมรดกแล้วในหลายประเทศ) ได้แก่
หนึ่ง ต้นทุนทางภาษีที่สูง ทั้งนี้ต้นทุนทางภาษีนับเป็นหลักการสำคัญเรื่องหนึ่งในการประเมินระบบภาษีว่าดีหรือไม่ โดยภาษีที่ดีควรมีต้นทุนหรือรายจ่ายทางภาษีที่เกิดขึ้นกับผู้เสียภาษี (Compliance cost) และต้นทุนทางภาษีที่เกิดขึ้นกับผู้จัดเก็บ (Administrative cost) ที่ต่ำ แต่สำหรับภาษีการรับมรดกและการรับการให้นั้น เป็นที่น่าเชื่อได้เลยว่า จะก่อให้เกิดต้นทุนทางภาษีกับผู้เสียภาษีค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ทั้งต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economic cost) ซึ่งคือต้นทุนค่าเสียโอกาสต่างๆ เช่น เวลาที่สูญเสียไปจากการต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อใช้เสียภาษี และต้นทุนทางบัญชี (Accounting cost) ตัวอย่างของต้นทุนทางบัญชี ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้รับมรดกจำเป็นต้องจ้างทนายความหรือบริษัทที่ให้คำปรึกษาทางด้านการเงิน (หรือทางด้านภาษี) มาช่วยดูแล ซึ่งผู้ที่ร่ำรวยมากๆ ก็คงจะมีที่ปรึกษาทางการเงินอยู่แล้ว แต่สำหรับสำหรับผู้ที่ร่ำรวยไม่มากนัก (แต่อยู่ในกลุ่มที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท) ก็คงจะมีต้นทุนในส่วนนี้ (คิดเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าทรัพย์สิน) ที่สูงกว่าผู้ที่ร่ำรวยมากๆ ซึ่งอาจทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ที่มีทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาท เพิ่มขึ้นได้
งานศึกษาในประเด็นนี้ที่ผ่านมาพบว่า ต้นทุนทางภาษีการรับมรดกที่เกิดขึ้นกับผู้เสียภาษีสูงถึงร้อยละ 7 ของภาษีที่จัดเก็บได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ต้องไม่ลืมว่า อัตราภาษีมรดกที่จัดเก็บในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นสูงกว่าอัตราที่จะจัดเก็บในประเทศไทยมาก ดังนั้นรายได้จากภาษีการรับมรดกที่จัดเก็บได้ในประเทศไทยจะน้อยกว่ามาก ซึ่งทำให้ต้นทุนทางภาษีที่จะเกิดขึ้นกับผู้เสียภาษีเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของภาษีการรับมรดกที่จัดเก็บได้ในประเทศไทยน่าจะสูงกว่าร้อยละ 7 เป็นอย่างมาก
สอง ส่งผลให้เกิดการบิดเบือน (Distortion) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทำให้ต้นทุนของการออมสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการบริโภคในวันนี้ ซึ่งจะทำให้คนรวยกลุ่มนี้เลือกที่จะออมในวันนี้น้อยลงและบริโภคเพิ่มขึ้น และทำให้ต้นทุนของการลงทุนเพิ่มขึ้น เมื่อการลงทุนรวมของประเทศลดลงก็อาจส่งผลลบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้
งานศึกษาบางชิ้นของประเทศสหรัฐอเมริกาถึงกับสรุปว่า การยกเลิกภาษีการรับมรดกจะช่วยทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นและจะทำให้รายได้ภาษีของรัฐบาลสหรัฐเพิ่มขึ้นด้วย
สาม ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงภาษี (Tax avoidance) หรือแม้แต่พฤติกรรมหนีภาษี (Tax evasion) ที่มีอยู่มากมายหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการโยกย้ายทรัพย์สินไปต่างประเทศ หรือการโยกย้ายทรัพย์สินในรูปแบบต่างๆ ซึ่งแน่นอนย่อมไม่เป็นไปตามหลักการของภาษีที่ดี
คำถามที่เกิดขึ้นคือ หากการนำภาษีการรับมรดกและภาษีการรับการให้มาใช้ก่อให้เกิดต้นทุนทั้งต่อผู้เสียภาษีและผู้จัดเก็บภาษีสูง และส่งผลให้เกิดการบิดเบือนประเภทต่างๆ โดยที่ไม่สามารถทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ได้ ทั้งในเรื่องของการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มรายได้ จะสมควรจริงๆ หรือไม่? ที่ผู้กำหนดนโยบายจะต้องเร่งผลักดันภาษีเหล่านี้ออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย โดยยังขาดการพิจารณาตามหลักวิชาการอย่างรอบด้าน (รวมถึงการนำเสนอผลการศึกษาต่อสาธารณะชน) สุดท้ายหากคิดเพียงว่า ภาษีการรับมรดกเป็นเพียงสัญลักษณ์ของการดูแลซึ่งกันและกัน ดูแล้วก็อาจไม่คุ้มกับความสูญเสียต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นติดตามมา
*"ภาษีการรับมรดก: สัญลักษณ์ของการดูแลซึ่งกันและกัน?" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ทันเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์โพสทูเดย์ วันที่ 1 ธ.ค. 2557